วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

summoner master card

วิธีการเล่นเบื้องต้น
Summoner Master

Summoner Master ได้รับความนิยมจนเป็นการ์ดเกมอันดับหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็เพราะว่า Summoner Master มีรูปแบบการเล่นที่ไม่เหมือนกับการ์ดเกมชนิดอื่นๆ แต่กลับมีความสนุกสนานมากไม่แพ้การ์ดเกมใดๆ แถมมีวิธีการเล่นที่เข้าใจง่าย และเป็นการ์ดเกมที่เกิดขึ้นมาจากฝีมือคนไทยล้วนๆ ซึ่งถ้าเพื่อนๆ คนไหนอยากที่จะลองเล่น SMN เราก็ต้องมาทำความรู้จักกันซะก่อน
Cardเกม SMN จะแบ่งการ์ดออกเป็น 2 ชนิดซึ่งไม่เหมือนกับการ์ดเกมอื่นๆ
Seal Seal (หลังการ์ดสีน้ำเงิน) หรือผนึก มีไว้เรียกตัวละครลงมาช่วยสู้ (สัตว์ประหลาด, มนุษย์, เทพ, มาร ฯลฯ)



1. ชื่อการ์ด
2. ธาตุ
3. เผ่าพันธุ์
4. MP ค่าร่าย / MP ค่าโจมตี
5. AT ค่าพลังโจมตี ใช้เทียบเมื่ออยู่แนวโจมตี
6. DF ค่าป้องกัน ใช้เทียบเมื่ออยู่แนวป้องกัน
7. SP ความเร็ว ตอนต่อสู้ถ้าพลังเท่ากัน Seal ที่มี SP สูงกว่าจะชนะ
8. Combination เมื่อรวมกับ Seal อื่นตามที่กำหนด (ธาตุ, เผ่าพันธุ์ ฯลฯ) จะได้พลัง AT, DF หรือ SP อันใหม่
9. ความสามารถต่างๆ ของ Seal
10. Lv. เลเวลของ Seal
แถมการ์ด Seal ยังมีหลายธาตุ และหลายเผ่าพันธุ์ ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นได้ตามใจชอบว่าอยากเล่นธาตุอะไรไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ มืด แสง หรือจะเลือกเล่นเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีหลายหลายเผ่าเช่น แมลง อัศวิน ปีศาจ หุ่นยนต์ ฯลฯ

ธาตุ


เผ่าพันธุ์
MysticMystic (หลังการ์ดสีแดง) เป็นการ์ดจำพวกเวทย์มนต์ อาวุธ สถานที่ ที่เอาไว้สำหรับช่วยเหลือฝ่ายเรา หรือเอาไว้ขัดขวางฝ่ายตรงข้าม

1. ชื่อการ์ด
2. ชนิดของ Mystic จะมีเป็น Tarot , Devas etc...
3. MP ค่าร่ายของการ์ดใบนี้
4. จำนวน Turn ที่การ์ดใบนี้จะอยู่ในสนาม
5. วิธีใช้ Mystic Card (ใช้กับ Seal, ใช้กับ Mystic ใบอื่น, วางบนสนาม)PA PS PM
6. ความสามารถของ Mystic




- จำนวนการ์ด Seal ขั้นต่ำคือ 25 ใบ และจำนวนการ์ด Mystic ขั้นต่ำ 20 ใบ
- จำนวนการ์ด Seal สูงสุดคือ 100 ใบ และจำนวนการ์ด Mystic สูงสุดคือ 100 ใบ
- Mp สูงสุด 8 หน่วย จำนวนการ์ดในมือสูงสุด 7 ใบ- Seal Card เลเวล 1, 2 แบบเดียวกันใส่ซ้ำใน Deck ได้ไม่เกิน 4 ใบ
- Seal Card เลเวล 3, 4 แบบเดียวกันใส่ซ้ำใน Deck ได้ไม่เกิน 3 ใบ
- Seal Card เลเวล 5 ขึ้นไป แบบเดียวกันใส่ซ้ำใน Deck ได้ไม่เกิน 2 ใบ
- Mystic Card ชื่อเดียวกันใส่ซ้ำใน Deck ได้ไม่เกิน 2 ใบ

ขั้นตอนการเล่น
-เมื่อเริ่มเล่นผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจั่ว Seal 5 ใบ และ Mystic 2 ใบ -ผู้ที่เริ่มก่อนมี MP 5 และ ผู้เริ่มหลังมี MP 8 และจะได้ MP เพิ่มขึ้นเป็น 8 ทุกครั้งที่จบ Subturn ของผู้เล่นคนนั้น
-ใน Subturn แรก ผู้ที่เริ่มก่อน ไม่สามารถสั่งโจมตี, ใช้ Skill และ จ่าย MP จากผลของ Ability ได้ แต่ผู้เล่นคนอื่นสามารถให้ Seal ใช้ Skill ที่ Interfere หรือแม้แต่สั่งโจมตี Interfere ได้ ถ้า Seal นั้นสามารถทำได้ (ผู้ที่เล่นหลังสามารถสั่งโจมตีได้เลย)
- AT ไลน์ไว้โจมตี DF ไลน์ไว้ป้องกันการตัดสินการแพ้-ชนะ
การตัดสินผู้แพ้ – ชนะ มีด้วยกัน 2 วิธี
1. ผู้เล่นที่มีเลเวลของการ์ด Seal ใน Shrine (สุสาน) รวมกันได้ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป จะเป็นผู้แพ้ในเกมนั้น
2. เมื่อผู้เล่นต้องนำการ์ดออกจากกองการ์ด แต่ไม่มีการ์ดให้นำออก

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

yugi spell&trap card

Spell & Trap Card
นอกจากการใช้การ์ดมอนสเตอร์ในการต่อสู้กันใน Battle Phase แล้ว การชิงไหวชิงพริบระหว่างการ Duel ก็จะสามารถเพิ่มความสนุกได้ด้วยการใช้ การ์ดเวทมนตร์ (Magic Card) และ การ์ดกับดัก (Trap Card) ระหว่างการเล่นครับ ซึ่งถึงแม้การเล่นในเกมจะเป็นเพียงการจำลองจากการ Duel ของการ์ดเกมจริงก็ตาม แต่ความไวต่อการตอบสนองในการใช้การ์ดทั้ง 2 ประเภทนั้นกลับทำออกมาได้ชนิดที่เรียกว่าเหมือนการเล่นเกมจริงเลยทีเดียวครับ ดังนั้นความสนุกของเกมจึงไม่ได้ลดน้อยลงไปจากการเล่นจริงเลย




รายละเอียดของการ์ดเวทมนตร์และกับดัก

Card Name / ชื่อ (ตำแหน่งที่ 1) เช่นเดียวกับการ์ดมอนสเตอร์ ชื่อของการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักคือสิ่งที่ระบุความเป็นตัวตนของการ์ดแต่ละใบนั่นเองครับ และถึงแม้บางครั้งรูปที่แสดงบนการ์ดจะแตกต่างกันแต่การ์ดกลับมีชื่อเหมือนกัน ก็จะถือว่าการ์ดเหล่านี้เป็นการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักใบเดียวกันนะครับ

Type / ชนิด (ตำแหน่งที่ 2) การ์ดเวทมนตร์หรือกับดักจะถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์เพื่อระบุว่าเป็นการ์ดชนิดใดนั่นเอง ซึ่งจะแตกต่างจากการ์ดมอนสเตอร์ที่แสดงธาตุของมอนสเตอร์บนการ์ดที่ตำแหน่งนี้

Icon / เครื่องหมาย (ตำแหน่งที่ 3) เครื่องหมายที่ปรากฏอยู่บนการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักนั้นแบ่งออกได้ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Equip / Field / Quick-Play / Ritual / Continuous / Counter เพื่อแสดงคุณสมบัติของการ์ดเวทมนตร์และกับดักแต่ละใบว่าทำหน้าที่พิเศษแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นการ์ดที่ไม่มีเครื่องหมายจึงแสดงถึงความเป็นการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักแบบทั่วไปเท่านั้น

Card Description / คำอธิบาย (ตำแหน่งที่ 4) ความสามารถของการ์ดเวทมนตร์หรือกับดักแต่ละใบนั้นจะถูกกำหนดด้วยเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่ในช่องคำอธิบายนี้ ดังนั้นจึงควรที่จะอ่านรายละเอียดของการ์ดอย่างระมัดระวังด้วยนะครับ

Card Number / หมายเลขการ์ด (ตำแหน่งที่ 5) สำหรับการ์ดแต่ละใบนั้นก็จะมีหมายเลขกำกับด้วยครับ แต่ข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่เล่นการ์ด Yu-Gi-Oh! ของจริงซะมากกว่าครับ เพราะจะช่วยให้ง่ายต่อการสะสมหรือจัดเรียงตามลำดับการ์ดในแต่ละ Booster Pack เท่านั้นจ้า สำหรับ Duelist ที่เล่นเกมก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้เลย

yugi monster type

ประเภทของการ์ดมอนสเตอร์


• Normal Monster (มอนสเตอร์ปกติ)การ์ดมอนสเตอร์ประเภทนี้คือการ์ดแบบพื้นฐานที่ไม่มีความสามารถพิเศษใดๆ อยู่เลย และปกติแล้วมักจะมีค่าพลังโจมตีและพลังป้องกันสูงกว่าการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถ ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้ในทุกสถานการณ์


• Fusion Monster (มอนสเตอร์รวมร่าง) การ์ดมอนสเตอร์รวมร่างคือการ์ดแบบพิเศษที่อยู่ใน Fusion Deck เท่านั้น (แยกออกจากชุดการ์ดหลัก) และจะสามารถเรียกใช้ได้โดยอาศัยการสังเวยการ์ดมอนสเตอร์ใบอื่นๆ ที่ปรากฏชื่ออยู่ในช่องคำอธิบาย คู่กับการใช้การ์ดเวทมนตร์รวมร่าง (Polymerization) และยังมีค่าพลังโจมตีและป้องกันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมอนสเตอร์รวมร่างบางใบยังมีความสามารถพิเศษอีกด้วย


• Ritual Monster (มอนสเตอร์บูชายัญ) การ์ดมอนสเตอร์บูชายัญนั้นเป็นมอนสเตอร์ที่เรียกใช้แบบพิเศษเพราะต้องอาศัยการ์ดเวทมนตร์บูชายัญ (Ritual Spell Card) ให้ถูกต้องกับการ์ดมอนสเตอร์บูชายัญแต่ละใบ การ์ดมอนสเตอร์บูชายัญจะถูกใส่ไว้ในชุดการ์ดหลักตามปกติ และยังมีค่าพลังโจมตีและป้องกันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงมอนสเตอร์บูชายัญบางใบยังมีความสามารถพิเศษอีกด้วย


• Effect Monster (มอนสเตอร์ที่มีความสามารถพิเศษ) การ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถนั้นคือการ์ดมอนสเตอร์ที่มีรายละเอียดของความสามารถปรากฏอยู่ในช่องคำอธิบาย โดยการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถนั้นยังจะสามารถแบ่งชนิดของความสามารถระหว่างการเล่นได้อีก 5 แบบ คือ


Flip Effect: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นได้หงายการ์ดใบดังกล่าวจากสถานะ Face-down อยู่บนสนาม หรือจากการหงายการ์ดเมื่อถูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโจมตีใน Battle Phase หรือการหงายการ์ดจากความสามารถพิเศษของการ์ดใบอื่น โดยการ์ดแบบนี้จะมีคำว่า Flip ปรากฏอยู่บนการ์ด

Continuous Effect: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ทันทีเมื่อการ์ดดังกล่าว Face-up อยู่บนสนาม และผลของความสามารถจะยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่การ์ดใบนี้ยังหงายหน้าอยู่บนสนาม ดังนั้นเมื่อการ์ดใบนี้ถูกทำลายลงไป หรือกลับคืนสู่สถานะ Face-down ความสามารถของการ์ดก็จะหายไป

Ignition Effect: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นได้ทำการประกาศใช้ความสามารถของการ์ดตามเงื่อนไขที่มีอยู่ในช่องคำอธิบายในระหว่าง Main Phase เท่านั้น ซึ่งการ์ดเหล่านี้มักจะมีความสามารถเด่นๆ และคุ้มค่าต่อการใช้ความสามารถเพื่อสร้าง Combo ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

Trigger Effect: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ในทันทีเมื่อเกิดการกระทำจากผู้เล่นฝ่ายใดก็ได้ ที่ตรงตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่บนการ์ด เช่น “เมื่อการ์ดใบนี้ถูกทำลายจะสามารถ…” เป็นต้น ซึ่งมักจะเป็นความสามารถพิเศษที่ดี แต่ก็ง่ายต่อการที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะระวังและขัดขวางการใช้ความสามารถได้เช่นกัน

Multi-Trigger Effect: ความสามารถของการ์ดจะถูกใช้ในทันทีเมื่อเกิดการกระทำจากผู้เล่นฝ่ายใดก็ได้ ที่ตรงตามเงื่อนไขที่ปรากฏอยู่บนการ์ด แต่ความสามารถที่แตกต่างจากการ์ดมอนสเตอร์แบบ Trigger Effect ก็คือ จะสามารถใช้ความสามารถในระหว่างการทำ Chain Link ได้ด้วย ซึ่งปกติแล้วการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปทำไม่ได้

introduced yugi card



1. Deck construction


ก่อนอื่นใดที่เราจะสามารถไป Duel กับตัวละครอื่นๆ ในเกมได้นั้น เราต้องมีการเตรียมชุดการ์ดหรือเด็ค (Deck) ด้วยครับ ขณะเล่นเกมเราจะสามารถจัดชุดการ์ดได้ที่ห้องพักของเราใน Slifer Red Dorm โดยเลือกที่ Duel Disk ที่อยู่ตรงพื้นห้อง หรือขณะอยู่บนแผนที่ก็จะเลือกได้ที่ Duelist menu ที่มุมขวาล่างของจอ ซึ่งองค์ประกอบของแต่ละชุดการ์ดก็จะประกอบไปด้วย

•Deck (ชุดการ์ดหลัก) dจะสามารถใส่การ์ดลงในชุดการ์ดได้ไม่จำกัด แต่ต้องไม่น้อยไปกว่า 40 ใบ และการ์ดเดียวกันจะใส่ซ้ำกันได้ไม่เกิน 3 ใบ ยกเว้นการ์ดประเภท Forbidden และ Limited จะถูกจำกัดจำนวนต่างออกไป

• Side deck (ชุดการ์ดสำรอง) การ์ดในชุดนี้จะไว้สำหรับเปลี่ยนกับในชุดการ์ดหลักระหว่างการแข่งขันแบบแมตช์ เพื่อปรับเปลี่ยนชุดการ์ดหลักให้เหมาะสมกับการ Duel กับผู้เล่นคนอื่น และจะสามารถใส่การ์ดลงในชุดการ์ดสำรองได้ไม่เกิน 15 ใบเท่านั้น

2. Game Mat
ในการ Duel นั้นเราจะอาศัย Game Mat หรือสนาม (Field) ในการเล่น โดยสนามจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ผู้เล่นและฝ่ายตรงข้าม และรายละเอียดของสนามในแต่ละฝ่ายก็จะเหมือนกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วยโซนต่างๆ สำหรับวางการ์ดแต่ละชนิดให้ถูกตำแหน่ง ลองมาดูรายละเอียดของสนามกันครับ


•Monster Card Zone (ตำแหน่งที่ 1) ตำแหน่งนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับวางการ์ดประเภทมอนสเตอร์ ซึ่งสามารถวางสูงสุดได้ถึง 5 ใบ ลักษณะการวางการ์ด (Summon หรือ Set) จะทำได้ 3 รูปแบบ คือ Face-up Attack Position (สถานะพร้อมโจมตี วางการ์ดในแนวปกติ), Face-up Defend Position (สถานะตั้งรับแบบหงายการ์ด วางการ์ดแนวขวาง) และ Face-down Defend Position (สถานะตั้งรับแบบคว่ำการ์ด วางการ์ดแนวขวาง)

•Spell & Trap Zone (ตำแหน่งที่ 2):ตำแหน่งนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับวางการ์ดประเภทเวทมนตร์และกับดัก เพื่อเรียกใช้ความสามารถ (Activate) ของการ์ดทั้ง 2 ชนิด หรือสามารถวางคว่ำการ์ด (Set) เพื่อเตรียมพร้อมใช้ความสามารถได้เช่นกัน ซึ่งจะสามารถวางสูงสุดได้ถึง 5 ใบ และจะไม่สามารถใช้เวทมนตร์ได้หากการ์ดถูกวางจนเต็มพื้นที่ทั้ง 5 ใบแล้ว

• Graveyard (ตำแหน่งที่ 3): ระหว่างการ Duel เมื่อการ์ดมอนสเตอร์ถูกทำลาย หรือการ์ดเวทมนตร์และกับดักได้ถูกใช้แล้ว การ์ดเหล่านี้จะถูกนำมาวางที่ตำแหน่งที่ 3 หรือที่เรียกว่าสุสาน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายสามารถกดคำสั่ง List ที่สุสานเพื่อดูการ์ดที่ใช้แล้วของแต่ละฝ่ายได้ตลอดการ Duel

• Deck Zone (ตำแหน่งที่ 4): ชุดการ์ดหลัก (Deck) หรือกองการ์ดของผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะถูกวางที่ตำแหน่งนี้ ซึ่งมีไว้สำหรับให้ผู้เล่นหยิบการ์ด (Draw) ระหว่างการ Duel นั่นเอง และในกรณีที่มีการเลือกหยิบการ์ดจากกองได้โดยการใช้ความสามารถพิเศษระหว่างการ Duel จะต้องมีการสลับการ์ดในกองการ์ดอีกครั้งก่อนจะดำเนินการ Duel ต่อไป ซึ่งเกมจะทำการสลับการ์ดให้เองโดยอัตโนมัติ

• Field Card Zone (ตำแหน่งที่ 5): การ์ดเวทมนตร์สนาม (Field Spell Card) นั้นจะถูกแสดงความสามารถหลังการใช้โดยวางอยู่ในตำแหน่งนี้และจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับจำนวนการ์ดในตำแหน่ง Spell & Trap Zone ซึ่งวางได้เพียง 5 ใบ ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายจะสามารถใช้การ์ดเวทมนตร์สนามได้เพียงครั้งละ 1 ใบเท่านั้น ดังนั้นหากมีการใช้ความสามารถของการ์ดเวทมนตร์สนามใบใหม่ การ์ดใบเดิมก็จะถูกทำลายลงในทันที

• Fusion Deck Zone (ตำแหน่งที่ 6): การ์ดมอนสเตอร์รวมร่าง (Fusion Monster) จะถูกแยกออกมาจากชุดการ์ดหลักและวางลงในตำแหน่งนี้ในลักษณะคว่ำการ์ด และการ์ดมอนสเตอร์เดียวกันจะใส่ได้ไม่เกิน 3 ใบ แต่จะไม่มีการจำกัดจำนวนการ์ดมอนสเตอร์รวมร่างไว้ และที่สำคัญจำนวนของการ์ดมอนสเตอร์รวมร่างจะไม่นับรวมกับจำนวนการ์ดในชุดการ์ดหลักของผู้เล่น นั่นหมายความว่าจำนวนการ์ดขั้นต่ำในชุดการ์ด 40 ใบจะไม่นับมอนสเตอร์รวมร่างนั่นเอง

3. Game Card
มาทำความรู้จักกับชนิดของการ์ดทั้งหมดที่ปรากฏในเกมกันบ้างครับ ซึ่งการ์ดแต่ละชนิดก็จะมีวิธีการเรียกใช้ในแบบต่างๆ กันไป และยังมีความสามารถของการ์ดแต่ละใบที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของการ์ดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียวสำหรับเหล่า Duelist การ์ดในเกมและการเล่นจริงนั้น
จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้ครับ




1. Monster Card
การ์ดมอนสเตอร์นั้นเปรียบเหมือนการ์ดตัวละครต่างๆ ที่ใช้เป็นการ์ดพื้นฐานในการต่อสู้กับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้การ์ดมอนสเตอร์เองก็ยังถูกแบ่งออกไปอีกหลากหลายชนิด ดังนั้นการที่การ์ดมอนสเตอร์ที่มีเพียงพลังโจมตี (ATK) หรือพลังป้องกัน (DEF) สูงเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอต่อการ Duel กับผู้เล่นคนอื่นๆ เช่น การ์ดมอนสเตอร์บางใบอาจจะมีความสามารถพิเศษ (Effect) ที่รุนแรงมากถึงแม้จะมีค่าพลังโจมตีหรือป้องกันที่ต่ำมากก็ตามครับ ทำให้ความสนุกของการเล่นการ์ดเกม Yu-Gi-Oh! นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดชุดการ์ดของ Duelist แต่ละคนนั่นเองฮะ


รายละเอียดของการ์ดมอนสเตอร์
Card Name / ชื่อ (ตำแหน่งที่ 1) ชื่อของการ์ดคือสิ่งที่ระบุความเป็นตัวตนของการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นเองครับ และถึงแม้บางครั้งรูปมอนสเตอร์ที่แสดงบนการ์ดจะแตกต่างกันแต่การ์ดกลับมีชื่อเหมือนกัน ก็จะถือว่าการ์ดเหล่านี้เป็นการ์ดเดียวกันนะครับ

Level / ระดับ (ตำแหน่งที่ 2) ระดับของการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นจะสามารถนับได้จากจำนวนดาวที่แสดงอยู่บนการ์ดครับ และระดับของการ์ดมอนสเตอร์นั้นยังมีผลต่อการเรียกการ์ดมอนสเตอร์ระดับสูงๆ ด้วยเช่นกันนะ เช่น การเรียกการ์ดระดับ 5 ดาวจะต้องมีการสังเวย (Tribute) การ์ดมอนสเตอร์ 1 ใบด้วยฮะ

Attribute / ธาตุ (ตำแหน่งที่ 3) ในบรรดาการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นต่างก็มีธาตุของมอนสเตอร์อยู่ด้วยเช่นกัน โดยจะสามารถแบ่งธาตุของมอนสเตอร์ได้ทั้งหมด 6 ธาตุ ได้แก่ ความมืด (Dark), ดิน (Earth), ไฟ (Fire), แสงสว่าง (Light), น้ำ (Water) และลม (Wind) และบางครั้งธาตุของมอนสเตอร์ก็ยังมีความสำคัญต่อผลจากการใช้ความสามารถพิเศษระหว่างการ Duel อีกด้วยครับ



Type / ชนิด (ตำแหน่งที่ 4) นอกจากการแบ่งการ์ดมอนสเตอร์ออกตามชนิดของธาตุแล้ว ยังมีการแบ่งออกตามชนิดของมอนสเตอร์ที่แสดงอยู่ในการ์ดแต่ละใบด้วยครับ ซึ่งการแบ่งแบบนี้จะสามารถจัดชนิดของการ์ดมอนสเตอร์ได้ถึง 20 ชนิดเลยครับ ได้แก่ Dragon / Fiend / Machine / Spellcaster / Fairy / Thunder / Zombie / Insect / Aqua / Warrior / Dinosaur / Pyro / Beast-warrior / Reptile / Rock / Beast / Fish / Plant / Wing Beast / Sea Serpent และการ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบยังสามารถมีชนิดของการ์ดได้มากกว่า 1 ชนิดด้วยนะฮะ

Card Number / หมายเลขการ์ด (ตำแหน่งที่ 5) สำหรับการ์ดแต่ละใบนั้นก็จะมีหมายเลขกำกับด้วยครับ แต่ข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ที่เล่นการ์ด Yu-Gi-Oh! ของจริงซะมากกว่าครับ เพราะจะช่วยให้ง่ายต่อการสะสมหรือจัดเรียงตามลำดับการ์ดในแต่ละ Booster Pack เท่านั้นจ้า สำหรับ Duelist ที่เล่นเกมก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้เลยฮะ

ATK & DEF / พลังโจมตีและพลังป้องกัน (ตำแหน่งที่ 6) การ์ดมอนสเตอร์แต่ละใบนั้นก็จะมีค่าพลังโจมตี และพลังป้องกันที่แตกต่างกันออกไปครับ สำหรับการ์ดที่มีค่าพลังเหล่านี้สูงก็จะมีประโยชน์ระหว่างการใช้โจมตีหรือป้องกันใน Battle Phase ของผู้เล่นแต่ละคน

Card Description / คำอธิบาย (ตำแหน่งที่ 7) หากเป็นการ์ดมอนสเตอร์ทั่วๆ ไปจะมีการแสดงคำบรรยายเกี่ยวกับข้อมูลของมอนสเตอร์บนการ์ดในช่องนี้ครับ แต่หากเป็นการ์ดมอนสเตอร์แบบมีความสามารถแล้วล่ะก็ ในช่องนี้ก็จะเป็นข้อมูลความสามารถพิเศษของการ์ดมอนสเตอร์ใบนั้น หรือวิธีการใช้ความสามารถของมอนสเตอร์แต่ละใบครับ ซึ่งโดยปกติแล้วความสามารถพิเศษของการ์ดมอนสเตอร์จะยังไม่สามารถเรียกใช้ได้หากการ์ดถูกวางคว่ำอยู่บนสนามนะ

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

magic the gathering card






วิธีเล่นเมจิกเบื้อต้น
============
เข้าใจก่อนว่าการ์ดมีทั้งหมดกี่ประเภท การ์ดmagic มีทั้งหมด6ประเภท หลักๆ ได้แก่
1.creature : คือmonsterในเกมการ์ดนี้
2.sorcery : คือการ์ดเวทย์ที่ใช้ในตาของเราเองเท่านั้นและใช้ก่อนที่จะทำอะไรทุกครั้ง เช่นสั่งตี ซึ่ง เมื่อใช้แล้วจะลงในสุสานเลย
3.instant : คือการ์ดเวทย์ที่ใช้ในตาของใครก็ได้ใช้แล้วลงสุสานเลยเหมือนกับsorcery
4.land : คือการ์ดที่ไว้ให้manaในการ์ดร่ายการ์ดต่างๆ ใน1ตาเราสามารถลงได้1ใบ
5.enchantment : คือการ์ดเวทย์ที่มีผลในสนามโดยที่จะอยู่ตลอดไม่ลงไปในสุสาน จนกว่าจะถูกทำลาย 6.artifact : คือการ์ดที่ถือว่าไม่มีสี และมึความสามารถแบบenchatment โดยนอกจากจะมี Artifact ธรรมดาแล้ว ยังมี Artifact ที่เป็น Creature และ Equipment ด้วย










ในส่วนของการ์ดlandจะแบบออกเป็น Basic Land และ Non Basic Land ซึ่ง Basic Land ก็คือ Land มาตราฐานที่มีให้ตั้งแต่การเล่นแบบ Starter นั่นเอง ส่วน Non Basic Land นั่นจะเป็น Land ที่อยู่นอกเหนือกฏพื้นฐาน นั่นหมายความว่า เป็น Land ที่มีความสามารถที่ต่าง หรือ เพิ่มขึ้นจาก Basic Land นั่นเอง
Basic Land จะมีทั้งหมด 5 แบบ คือ
1. Forest = ให้มานาเขียว สัญลักษณ์เป็นรูปต้นไม้
2. Mountain = ให้มานาแดง สัญลักษณ์เป็นรูปไฟ
3. Plains = ให้มานาขาว สัญลักษณ์เป็นรูปแสง ( หรือพระอาทิตย์ )
4. Island = ให้มานาฟ้า สัญลักษณ์เป็นรูปน้ำ
5. Swamp = ให้มานาดำ สัญลักษณ์เป็นกระโหลก
มานานั้นเป็นส่วนสำคัญของ Magic เพราะมีไว้เพื่อร่ายการ์ดต่างๆ โดยการจะดูว่าการ์ดแต่ละใบมีค่าร่ายเท่าไร ให้ดูที่มุมบนขวาของการ์ด เช่น การ์ดcreature ค่าร่ายเป็นรูปต้นไม้3อัน รูปวงกลมสีเทามีเลข4ข้างในแสดงว่าค่าร่าย7ครับ ซึ่งในวงกลมสีเทาเราเรียกว่า "ค่า Colorless" ครับ ซึ่งเราสามารถจ่ายมานาสีอะไรก็ได้ ตามจำนวนที่ระบุครับ ดังนั้น ในกรณีนี้ เราต้อง tap land forest 3ใบ และlandอะไรก็ได้อีก4ใบ ถึงจะร่ายได้ครับ










การtap คืออะไร การtapคือการตะแคงการ์ดให้อยู่ในแนวนอนครับ เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราใช้ประโยชน์จากความสามารถ ของการ์ดแล้ว เช่น การ tap เพื่อเอามานา , การ tap เพื่อใช้ Ability และ การ tap เพื่อตี
Ability คืออะไร ก็คือ ความสามารถของ Creature , Non-Basic Land , Artifact , Enchantment ที่มีการระบุไว้ เช่น Creature ที่สามารถจ่ายค่าร่ายได้ , Non-Basic Land ที่ tap ยิงได้ , Artifact ที่จ่ายค่าร่ายแล้วเรียก artifact creature ลงมาทันที
ซึ่ง ความสามารถของ Ability เป็นความสามารถแบบ Instant ครับ ดังนั้นจึงสามารถใช้ตอนไหนก็ได้ ยกเว้นกรณีที่มีการระบุว่าใช้เป็น Sorcery จะสามารถใช้ได้เฉพาะใน turn เราเท่านั้นเท่านั้น






- ก่อนจะเล่นก็ต้องมี Card ก็เริ่มจากการซื้อเริ่มซื้อ
1.แบบซอง Booster pack เป็นแบบชุดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เล่นเป็นแล้ว ราคาไม่แพงมาก มี Rare Card หายาก 1 ใบ,Uncommon 3 ใบ,Common 11 ใบ จากทั้งหมด 15 ใบ ที่ว่ามานั้นไม่รวมชุดเก่า ๆ นะครับ พวกนั้นดูได้จากหน้าซอง
2.แบบกล่อง Starter เป็นชุดสำหรับผู้ที่เริ่มเล่น มี Rare 3 ใบส่วน Uncom,comไม่เหมือนกันในแต่ละชุด แต่จะดีสำหรับผู้ที่เริ่มเล่นตรงที่ มี Land ให้สีละ 5-6 ใบ ส่วนราคานั้นพอ ๆ กับซื้อ Booster 3 ซอง3.แบบ
กล่อง Preconstructed เป็นชุดที่ซื้อมาแล้วเล่นได้เลย Card ที่มีอยู่ในชุดแบบนี้ เราสามารถถามได้จากเจ้าของร้าน แบ่งเป็นสี ๆ ตามชอบใจ ราคาพอ ๆ กับ Strater
4.แบบเป็นใบ ๆ สำหรับท่านที่ต้องการ คงต้องหาแลก หรือซื้อจากผู้ที่เล่นเป็นแล้วคนอื่น ๆ ราคานั้นก็ตาม Rate นะครับแต่บางใบก็แพงเป็นพัน ๆ เลย











การเล่นและการจัดเด็ค
===============
ในเด็คจะต้องมีการ์ดไม่ต่ำกว่า 60 ใบ และมีการ์ดชื่อเดียวกันได้ไม่เกิน 4 ใบ ยกเว้นการ์ดที่ระบุให้มีได้ใบเดียว เช่น Global Enchanment( การ์ดรุ่นเก่าครับ )เป็นต้น
- พอมี Deck แล้วก็เริ่มเล่นก่อนปะทะหน้ากัน
1.เริ่มต้นที่มี พลังคนละ 20 แต้ม ใครเหลือ 0 ก่อน คนนั้นแพ้ไป
2.ทำการตัดกอง Card ของคู่ต่อสู้คนละ 1 ครั้ง
3.โยนหัวก้อยว่าใครจะได้เล่นก่อนแต่ไม่ได้จั่ว คนที่เล่นหลังจะได้จั่วก่อน
4.พร้อมแล้ว...เตรียมตัว...Go!!
การเลือกว่าผู้เล่นคนใดเริ่มก่อนนั้น ตามกฏของ DCI จะเป็นการทอยเหรียญเพื่อเลือกเล่นครับ แต่ตามกฏการเล่นกันเอง ใช้วิธีเปิดกองเพื่อดูค่าร่ายครับ ใครมากกว่าก็ได้เริ่มก่อน
ก่อนจะเริ่มเล่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า ในการเล่นแต่ละ turn นั้น จะมีการแบ่งย่อยออกเป็น 3 Pharse ใหญ่ คือ
1. Main Pharse
2. Combat Pharse
3. Post Combat Pharse
ซึ่งในแต่ละ Pharse นั้น ถ้าผู้เล่นคนใดใช้ mana ไม่หมด แล้วข้ามไปอีก Pharse จะเกิด Mana Burn ทันที ( 1 mana จะ Burn 1 life Point )
และในแต่ละ Pharse นั้น ก็จะมีการแยกย่อยออกอีก เป็น Step ดังนี้
1. Upkeep and Untap Step ( ช่วงเริ่มเกมส์น่ะครับ ต้อง untap การ์ดกลับทุกใบ )
2. Draw Step ( ช่วงสำหรับจั่วน่ะครับ )
3. Main Pharse Step ( ช่วง main pharse น่ะครับ มีมานาเท่าไหน อยากร่ายอะไร ก็เต็มที่ )
4. After Main Pharse Step ( ช่วงหลังจากทำอะไรเรียบร้อยแล้วเตรียมเข้า combat
5. Combat Pharse Step ( เข้าสู่ช่วงทุบกันแล้วครับ )
6. After Combat Pharse Step ( หลังจากเลือกตัวทุบกันเรียบร้อยและ damage resolve แล้ว )
7. Post Combat Pharse Step ( ช่วงนี้จะเหมือน Main Pharse ครับ จะร่ายอะไรก็ร่ายครับ ถ้ายังไม่ลงแลนด์ก็ลง )
8. Clean Up Step ( ช่วงที่เช็คว่ามีมานาเหลือหรือไม่ และเช็คว่าการ์ดในมือเกิน 7 ใบหรือเปล่า ถ้าเกินก็ ค่อยมาทิ้งช่วงนี้ครับ )